Artists in Residence for Artistic Research and Contemporary Art Exhibition Project
Pop Up Museum (Model Study for Nongpho Community)
พิพิธภัณฑ์เฉพาะกาล (กรณีศึกษาชุมชนหนองโพ)
Pop Up Museum (Model Study for Nongpho Community) is one of the program series of the long term pilot project : DAY OFF LABoratory#2/2014 runs by Baan Noorg Collaborative Arts and Culture an alternative interdisciplinary art institution. Base on post-studio and participatory practice, the DAY OFF LABoratory functions as a dynamic program to develop contemporary art and cultural production.
Pop Up Museum (Model Study for Nongpho Community) is a site specific workshop program that gathers students, practitioners, emerging artists to analyze, discuss and debate theoretically and practically in an interdisciplinary mode toward social condition and community as case study for researching and developing community engagement, art, and the work of museums with visiting international artists, activists, curators, educators from various fields. The program explores and develops abilities relating to collaboration, social practice, art & cultural practice, and community engagement for participants. The outcome is a Pop-up Community History Museum exhibition at Baan Noorg and selected community sites with a program of sociable platform for community members to reflect, discuss and extend program driving’s issues.
Directors and Curators : jiandyin (Jiradej and Pornpilai Meemalai)
Guest speaker: Surasi Kusolwong, Sakarin Krue-On, Suporn Shoosongdej, Sucha Silpachaisri, Suraporn Lertwongpaitoon, Rachan Komklieng, Pocharapon Taengruen
Invited Artists:
Lo Shih Tung and Shih Pei Chun (TW)
Siwanat Phongbunkumlarp (TH)
Saroot Supasuthivech (TH)
Awika Samukrsaman (TH)
Kaensan Rattanasomrerk (TH)
Project Participants:
The Museum of Simplicity / As Museum As Grocery Store
Collaborative artists: Omsiree Pandamrong, Supichaya Khunchamni, Nattawika Boon-ard, Chanida kuntiranont, Kornchanok Savangsri
Eat Museum / Eat-Ate-Art
Collaborative artists: Niramon Ruangsard, Sita Inyai, Kulchayanuj Chantui, Pataraporn Piyachokanakul, Charinrat Narongrit
The Museum of Voiceover / where we were
Collaborative artists: Tidarat Chumjunrad, Suriwatsa Hiranrattanasak, Nawaporn Nontapunthawat, Satjawalee Sukapan, Julaluck Pathpran
The Museum of photo / on the way
Collaborative artists: Sareena Satthapon, Channarong Kongkaew, Ravisara Thangjitrat, Verapatra Moonwat, Vanrada Pimsotsai
Mobile Museum / We Are the Museum
Collaborative artists: Pitchanan Sornyen, Chanya Photjanasattayaweroj, Akkaravin Sumalu, Natthanan Chimphuk, Thanyaporn Phensri, Songpao Bampuang
Curator : jiandyin (Jiradej, Pornpilai Meemalai)
Assistant Curator : Pitchanan Sornyen ,Chanya Photjanasattayaweroj
Project Directors : jiandyin (Jiradej, Pornpilai Meemalai)
Project Partners : Sakarin Krue-On, ShinTong Lo , Chu Chia Wei
Duration:
Apr 25 – June 1, 2014.
Related events:
Pop-up Community History Museum exhibition and public discussion program
June 14, 2014, 10am – 7pm
Venue supports: Baan Noorg Commulab and public space in Nongpo community
Project initiator : Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
Organized : Baan Noorg Collaborative Arts and Culture and Thammasat University
Co-Organized : Faculty of Fine and applied arts, Thammasat University
Official Support : Thammasat University
Special support : Thai health organization, Nongpho daily cooperative
Accommodation Support : PASAYA
Equipment Support : Fine and applied art Department, Thammasat University, Wat Nongpo, Nongpo Temple’s Community school
Media partners : Fine Art , Magazin, A4D
Special Thank : Suthep Boonprasop, Director of Nongpo Temple’s Community School
Artists in Residence for Artistic Research and Contemporary Art Exhibition Project
Pop up Museum (Model study for Nongpho community)
โครงการนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย พิพิธภัณฑ์เฉพาะกาล (กรณีศึกษาชุมชนหนองโพ) คือโครงการนำร่องการศึกษาศิลปสหวิทยาการนอกโรงเรียน: วันหยุด เรียน (pilot project: day OFF LABoratory, an alternative interdisciplinary art institution) ดำเนินงานโดย บ้านนอก ก่อตั้งโดย จิระเดชและพรพิไล มีมาลัย ภายใต้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะนอกห้องปฏิบัติการและศิลปะการมีส่วนร่วม (Base on post-studio, social engagement and participatory practice) ผสานความร่วมมือชุมชนฯ นักศึกษาหลายสาขาวิชา ศิลปินรุ่นใหม่ ศิลปินรับเชิญนานาชาติ ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง นักวิชาการทฤษฏีศิลปะ ภัณฑารักษ์ และผู้ที่สนใจทั่วไปฯ เปิดพื้นที่การเรียนรู้ทางเลือก การทดลองและแลกเปลี่ยนความรู้ศิลปะร่วมสมัย พัฒนาต้นแบบการขับเคลื่อนศิลปวัฒนธรรม ด้วยศิลปทัศน์การมีส่วนร่วมและความร่วมมือ (artistic interest in participation and collaboration) เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและศิลปศึกษานอกห้องเรียน โดยจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติในโปรแกรม วันหยุด-เรียน # 1 ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีระยะเวลาการอบรมฯแบ่งออกเป็น 8 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน (ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์) ระหว่างวันที่ 25 เมษายน ถึงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557 โดยมีผู้เชี่ยวชาญบรรยายพิเศษจากในประเทศและต่างประเทศ 12 ท่าน ศิลปินรับเชิญจากในประเทศและต่างประเทศ 8 ท่าน นักศึกษาร่วมอบรมฯ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 29 คน เยาวชนหนองโพคิดดี 12 คนร่วมปฏิบัติการในพื้นที่ร่วมกับคนในชุมชนฯ
นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย Pop Up Museum:พิพิธภัณฑ์เฉพาะกาล (กรณีศึกษา ชุมชนหนองโพ) ภัณฑารักษ์โครงการฯโดย jiandyin (จิระเดชและพรพิไล มีมาลัย) แบ่งแนวทางดำเนินงานออกเป็นสองส่วนคือ 1. ผลงานสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์พื้นที่จำเพาะ (Site specific museum) 5 โครงการย่อยโดยกลุ่มนักศึกษาฯ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่, พิพิธภัณฑ์สามัญ, พิพิธภัณฑ์กินได้, พิพิธภัณฑ์ระหว่างทาง และพิพิธภัณฑ์เสียง ส่วนที่ 2. ผลงานพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ เป็นผลงานสร้างสรรค์จากศิลปินรับเชิญ แยกเป็น 5 โครงการย่อยด้วยความร่วมมือทางภัณฑารักษ์จาก Tao Hong Tai: d Kunst, Metro Sapiens, บ้านนอก, NPKD และOCAC(Open Contemporary Art Center) ไทเป นำเสนอผลงาน Document no.3, Magic Cow, In General, Untitled, It’s Like You Got Yesterday… และผลงานจากศิลปินกิตติมศักดิ์ผู้เฒ่าชาวไทยวนในชุมชนฯอีก 1 ท่าน นิทรรศการฯครั้งนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 เดือน ที่ชุมชนหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
หนองโพ ชุมชนเล็กๆตรงหลักกิโลเมตรที่ 73 บนถนนเพชรเกษมเส้นทางกรุงเทพฯ-ราชบุรี ระยะเวลาเพียงชั่วโมงเศษก้าวแรกสู่พื้นที่พิพิธภัณฑ์เฉพาะกาลฯ ที่ป้ายรถประจำทางพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เสียง(ตรงนี้ที่เคยเป็น) ผลงาน sound installation นำเสนอบทบรรยายเสียงชาติพันธุ์ไทยวน เรื่องเล่าพื้นที่การซ้อนทับทางภูมิศาสตร์และเวลา เมื่อผู้ชมมาถึงพิพิธภัณฑ์เสียง กรุณาแจ้งแก่คุณป้าที่โต๊ะขายตั๋วในป้ายรถประจำทาง หรือนายดาบที่โต๊ะแจ้งเหตุในป้อมตำรวจเพื่อรับฟังเสียงบริเวณหน้าวัดหนองโพ มีร้านโชห่วยชาวไทยวนและเมนูกระเพราเนื้ออันเลื่องชื่อ ที่นี่ผู้ชมสามารถขอรับเอกสารแผ่นพับนิทรรศการและสะสมตราประทับบนแผ่นพับ ร้านลำดวนคือ 1 ใน 4 ร้านโชห่วยเก่าแก่ของชุมชนฯที่ยังมีลมหายใจเป็นพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์สามัญ(เป็นโชห่วยเป็นพิพิธภัณฑ์) นำเสนอผลงานPrint installation เช่นตราประทับ เทคอิตสติกเกอร์ และภาพพิมพ์นูนใบประกาศเกียรติบัตรมอบแด่ร้านโชห่วยทั้ง 4 ด้วยเล็งเห็นคุณค่าความเรียบง่ายในวิถีการดำรงชีพและยังคงอัตตาลักษณ์ชาติพันธ์ ด้านหลังร้านคือวัดและโรงเรียนชุมชนฯ เป็นพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ภาพถ่าย(ระหว่างทาง) ผลงาน Photo installation และ VDO นำเสนอบันทึกภาพถ่ายรวบรวมจากหลายบ้านในชุมชนฯแล้วนำกลับไปติดตั้งยังจุดที่ภาพนั้นถูกถ่าย ให้เกิดการผลิตซ้ำประวัติศาสตร์ความทรงจำและสร้างบทสนทนาของชุมชนฯจากผู้คนในปัจจุบัน
บริเวณใกล้กันภายในศาลาเอนกประสงค์ของโรงเรียน เป็นพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้(วัวมหัศจรรย์) ศิลปินนำรูปปั้นวัวที่ถูกทิ้งมาตกแต่งระบายสีผ่านกระบวนการศิลปะการมีส่วนร่วม กับกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน และผลงานภาพเคลื่อนไหวตีความหมายของ เรื่องเล่า ข้อเท็จจริง เหตุการณ์และสถานที่ต่างๆภายในชุมชนผ่านจินตนาการของเยาวชน จากนั้นข้ามสะพานลอยมาที่ร้านสายฝน พื้นที่พิพิธภัณฑ์สามัญฯอีกแห่งหนึ่ง ร้านโชห่วยและไอศกรีมนมสดต้มสูตรดั่งเดิมโดยชาวจีนแต้จิ๋วรุ่นแรกในชุมชนฯ ปัจจุบันเจ้าของร้านอายุ 101 ปี บริเวณใกล้กัน คือ ร้านป้าจอก โชห่วยของชาวไทยวนอีกแห่งที่ยังคงต้มกาแฟด้วยเตาฟืน
ข้างร้านเป็นซอยเล็กๆเลาะไปตามห้องแถวที่แบ่งซอยให้เช่าในราคาประหยัด เป็นพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้(ไม่มีชื่อ) ที่นี่คือชุมชนของการเคลื่อนย้ายแรงงานในภาคอุสาหกรรมที่ขยายตัวในพื้นที่กว่า 20 ปีมานี้ บริเวณผนังอาคารในชุมชนมีผลงานจิตรกรรมขนาดใหญ่ที่ประดิษฐ์สร้างขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินและครอบครัวเครือญาติของคนในชุมชนนั้น
ไม่ไกลกันนักเป็นพื้นที่ห้องจัดแสดงนิทรรศการฯ ภายในมีผลงานบันทึกรวบรวม(archive)โครงการย่อยแต่ละโครงการ ภายในห้องจัดแสดงด้านในมีผลงาน Figurative sculpture รูปตัวต่อขนาดใหญ่จากศิลปินกิตมศักดิ์ผู้เฒ่าชาวไทยวนในชุมชนเกาะอยู่บนผนัง ตรงข้ามเป็นผลงานพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้(Document no.3) ผลงาน VDO documentary ค้นหาจุดเชื่องโยงระหว่างคนในและคนนอกชุมชน ถัดไปเป็นผลงานศิลปินรับเชิญจากไต้หวัน ผลงานพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้(It’s like you got yesterday…) เป็นผลงานขนาดเล็กบรรจุแบบร่างผังอาคารบ้านนอก ภาพและดอกหางนกยูงลงในกรอบเลี่ยมพร้อมสร้อยคอสแตน เลสแขวนอยู่บนบานประตูห้อง ภายในห้องยังจัดแสดงภาพถ่ายบนทีวี แม่พิมพ์โลหะบนผนัง และผลงานcollageอยู่ตรงหัวเตียง
ห้องด้านหน้าจัดแสดงผลงานพิพิธภัณฑ์กินได้ ผลงาน VDO installation และ Live ceremony นำเสนอวิธีทำอาหารไทยวนชุดความรู้ของกลุ่มชาติพันธ์ที่กำลังเลือนหายไปจากครัว และงานบุญจัดเลี้ยงพระเพลร่วมกับคนในชุมชนเมื่อวันพิธีเปิดนิทรรศการฯ
ติดกันคือผลงานพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่(เราคือพิพิธภัณฑ์) กับผลงาน Archive installation ประกอบด้วย รถเข็น บล็อกสกรีน-ไม้ปาด แผ่นพับข้อมูล เสื้อยืดพิมพ์ลาย พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ฯเป็นผลงานศิลปะแสดงสดที่ประกอบด้วยวงดุริยางค์เยาวชนจากโรงเรียนชุมชนฯ และเถิดเทิงขบวนแห่เสื้อยืดหลากสีสันที่ได้มาจากการรับบริจาค รถพิมพ์เสื้อเคลื่อนที่พร้อมอุปกรณ์ ขบวนเคลื่อนตัวผ่านชุมชน วัดและตลาด สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้คนสองข้างทางอย่างมีนัยยะ เป็นการพลิกด้านของพิพิธภัณฑ์โดยให้คนและชุมชนเป็นศูนย์กลาง
ประมาณ 100 เมตร จากห้องจัดแสดงนิทรรศการฯมุ่งหน้าสู่คลองพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเส้นทางการค้าและการสัญจรที่คับคลั่ง ที่นั่นมีโรงลิเกและศาลเจ้าเก่าแก่ของชุมชนชาวไทยจีนเชื้อสายแต้จิ๋วเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และตำนานความเชื่อ บริเวณนี้มีผลงานพิพิธภัณฑ์เสียงฯ และพิพิธภัณฑ์ภาพถ่ายฯ ติดตั้งอยู่ใกล้กันทั้งภายในตัวศาลเจ้าและโรงลิเก จากนั้นในช่วงเย็นหากใครต้องการดูการรีดนมวัวสดๆสามารถไปดูได้ที่บ้านของครอบครับหนูพิทักษ์ ที่นั่นเป็นพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้(ทั่วไป)จัดแสดงผลงาน Photo installation ภายในบริเวณคอกวัวนั้นเอง
พิพิธภัณฑ์เฉพาะกาล(กรณีศึกษาชุมชนหนองโพ)นั้น เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีภาวะกลับหัวกลับหาง มันมิใช่ภาพลักษณ์ของการทำสำเนา และมิใช่การสำรวจประวัติศาสตร์อันยาวนานของชุมชนเท่านั้น แต่เป็นพิพิธภัณฑ์ของการกระทำตามต้นแบบกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ด้วยการปฏิบัติและการผลิตซ้ำประสบการณ์หรืออารมณ์ความรู้สึกที่อยู่ภายในชุมชน โดยมีเป้าหมายให้คนและชุมชนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
-บันทึกโดยศิลปินและภัณฑารักษ์ร่วม โครงการย่อยพิพิธภัณฑ์เฉพาะกาล 5 โครงการ-
Baan Noorg Let’s Talk Salon: Program Lecture
Link Baan Noorg Let’s Talk Salon: Program Lecture
https://www.youtube.com/watch?v=xBLpV39VSAI
https://www.youtube.com/watch?v=GKZMmZrxDUM
Invited international artists and young contemporary emerging artists
The Museum Now (It’s like you got yesterday, today and tomorrow, all in the same room, there is no telling what can happen) Project
The Museum Now (It’s like you got yesterday, today and tomorrow, all in the same room, there is no telling what can happen), 2014, Photo, engrave-amulet, chain
Invited Artists: Lo Shih Tung, Shih Pei Chun (TW)
Participated community : Meemalai family
Sub-curated project by Open Contemporary Art Center (OCAC),Taiwan
Venue Baan Noorg : Installation Photo, engrave-amulet, chain
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
Lo Shih Tung and Shih Pei Chun came to visit and explore Baan Noorg last rainy season, 2013. Lo made a picture combining the woman’s head with Baan Noorg image and made an amulet by this photo print and pin a Shih Pei Chun Flam-Boyant flower on it.
โครงการพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (เหมือนวันวานฯ)
โครงการพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (เหมือนวันวานฯ), 2014, ภาพถ่าย, กรอบพระ, สายสร้อย
ศิลปินรับเชิญ: โล ซื่อ ตง และ ซือ เพ่ย จวิน
ชุมชนร่วม : ครอบครัวมีมาลัย
ภัณฑารักษ์ร่วม: บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม, Open Contemporary Art Center (OCAC)
ห้องแสดงบ้านนอก : ภาพถ่าย, กรอบพระ, สายสร้อย
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
โล ซื่อ ตง และ ซือ เพ่ย จวิน เดินทางมาบุกเบิกบ้านนอกเมื่อกลางปีที่แล้ว เขานำรูปภาพหัวผู้หญิง และภาพบ้านนอกมารวมกัน เลี่ยมกรอบให้แก่ภาพนั้นและเอาดอกหางนกยูงของซือ เพ่ย จวิน ใส่ลงไป
The Museum Now (in general) Project
The Museum Now (in general), 2014, Photo installation
Invited Artists: Siwanat Phongbunkumlarp,
Participated community : Noopitak family
Sub-curated project by Tao Hong Tai : d Kunst
Venue Baan Noorg : Photo installation
Community site specific : Photo installation
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
We all have daily routines. Sometimes they are not interesting at all. It may happen habitually. Similarly to Nongpo community, one of the community routines is feeding dairy cattles. Looking from outside, there is nothing interesting. However, if you have a chance to experience it once, you will discover an interconnection between human, animals and place. This simple way of life can be considered as a beautiful and fine museum when looking from outsider’s view.
โครงการพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (ทั่วไป)
พิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (ทั่วไป), 2014, Photo installation
ชุมชนร่วม : ครอบครัวหนูพิทักษ์
ศิลปินรับเชิญ: ศิวนัฐ พงศ์บุญคุ้มลาภ
ภัณฑารักษ์โครงการย่อย โดย Tao Hong Tai : d Kunst
ห้องแสดงบ้านนอก : Photo installation
พื้นที่แสดงชุมชน : Photo installation
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
เราเองต่างก็มีกิจวัตรที่ทำเป็นประจำด้วยกันทั้งนั้น และในบางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ได้น่าสนใจอะไร อาจเกิดขึ้นได้ด้วยความเคยชิน ชุมชนหนองโพเองก็เช่นกัน สิ่งที่เป็นกิจวัตรหรือวิถีธรรมดาอย่างหนึ่งของชุมชนคือ การเลี้ยงโคนม มองเผินๆ คงดูไม่ได้น่าสนใจอะไรนัก แต่หากได้ลองเข้าไปสัมผัสแล้วก็ทำให้รู้สึกได้ถึงความสอดคล้องกันระหว่าง คน สัตว์ และสถานที่ ซึ่งแท้จริงแล้วในวิถีที่ดูธรรมดาเหล่านั้นคือพิพิธภัณฑ์ความงามอย่างละเมียดเมื่อถูกมองในมุมของคนภายนอก
The Museum Now (magic cow) Project
The Museum Now (magic cow), 2014, HD digital video on monitor, audio, loop, Paper mache, paint, found object,booklet
Invited Artists: Saroot Supasuthivech
Participated community : Siraprapa Chaladtunyakit, Pudchapon Sangchai, Aisra Chuesakseree, Nannaphat Nuphithak, Patcharida Singreung, Sopitcha Sripueak, Suthida Palasu, Maneerut Suksawat, Nateenad Srikongpetch, Kavintida Phongpai, Pomprom Maneekan, Chuirat Teangtae, Panpetch Saelim, Natchanon Peachad
Sub-curated project by Metro Sapiens
Venue Baan Noorg : HD digital video on monitor, audio, loop, booklet
Community site specific / Participatory art project at community school : Paper mache, paint, found object
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
Magic Cow can be divided into 2 parts: 1. A “small cow figure”, left behind Nongpo Community school, was brought to repaint through collaborative process between students from this school. 2. A video which is an interpretation of “story”, truth, situation, places in the community over a group of children’s imagination, a result of historical notion in the community that passes down to new generation. The cultivation and the gradual change in people’s mind may affect the change in the community.
โครงการพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (วัวมหัศจรรย์)
โครงการพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้, 2014, HD ดิจิตอลวีดีโอ บนจอ, เสียงวน, กระดาษปะ, ทาสี, วัสดุเหลือใช้,หนังสือ
ศิลปินรับเชิญ: สะรุจ ศุภสุทธิเวช,
ชุมชนร่วม : ด.ญ. ศิรประภา ฉลาดธัญญกจ, ด.ญ.อลิสลา เชื้อศักดิ์เสรี, ด.ญ. พัชรดา สิงห์เรือง, ด.ญ. ปรัชภรณ์ แสงชัย, ด.ญ. นันท์นภัส หนูพิทักษ์, ด.ญ. สุธิดา พละสุ, ด.ญ. โสภิชชา ศรีเผือก, ด.ญ. มณีรัตน์ สุขสวัสดิ์, ด.ญ. นทีนาฤ ศรีคงเพชร, ด.ญ. กวินธิดา ป้องภัย, ด.ญ. พรพรหม มณีกรรณ์, ด.ญ. ชุติรัตน์ เที่ยงแท้, ด.ญ. พรรณเพชร แซ่ลิ้ม, ด.ญ. ณัฐชนน เปียชาติ
ภัณฑารักษ์โครงการย่อย โดย Metro Metro-Sapiens
ห้องแสดงบ้านนอก : HD ดิจิตอลวีดีโอ บนจอ, เสียงวน,หนังสือ
พื้นที่แสดงชุมชน : โรงเรียนชุมชนวันหนองโพ
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
วัวมหัศจรรย์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน 1. “รูปปั้นวัวขนาดเล็ก” ถูกทิ้งไว้หลังโรงเรียน นำมาตกแต่งระบายสีใหม่ ผ่านกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มเยาวชนภายในโรงเรียน 2. ภาพเคลื่อนไหว เป็นการตีความหมายของ “เรื่องเล่า” ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ สถานที่ต่างๆภายในชุมชน ผ่านจินตนาการของเยาวชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลผลิตทางความคิดของประวัติศาสตร์ในชุมชนที่ถูกถ่ายทอดและส่งต่อ การปลูกฝัง การเปลี่ยนแปลงทางความคิดที่ละเล็กที่ละน้อย อาจจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน
The Museum Now (documentary no. 3 ) Project
The Museum Now (documentary no. 3 ) , 2014,color VDO on monitor, sound, 15” loop
Invited Artists: Kaensan Rattanasomrerk
Participated community : Nongpo community residents
Sub-curate project by Baan Noorg
Venue Baan Noorg : color VDO on monitor, sound, 15” loop
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
Documentary No.3 is a semi-documentary VDO installation by outsiders and insiders of Nongpo community that cooperated from both groups. The video was documented by outsiders while the existing sound was documented by community members. The divisional process that discretely created fragments of sound and images raises some questions about identity and the continuing inheritance of the community culture.
พิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (บันทึกหมายเลข 3)
พิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (บันทึกหมายเลข 3) , 2014,color VDO on monitor, sound, 15” loop
ศิลปินรับเชิญ: แก่นสาร รัตนสมฤกษ์
ชุมชนร่วม : ชาวชุมชนหนองโพ
ภัณฑารักษ์โครงการย่อย โดย Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
ห้องแสดงบ้านนอก : color VDO on monitor, sound, 15” loop
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
บันทึกหมายเลข 3 คือผลงาน vdo installation เป็นบันทึกกึ่งสารคดีระหว่างความเป็นคนนอกและคนใน โดยความร่วมมือกันของคนนอกและคนในชุมชน ภาพเคลื่อนไหวบันทึกคนนอกและเสียงประกอบบันทึกคนในชุมชน ลักษณะการทำงานที่แยกส่วนออกจากกันสร้างความไม่ประติดประต่อระหว่างภาพและเสียง ตั้งคำถามเชิงอัตลักษณ์และการดำรงสืบทอดทางวัฒนธรรมของชุมชนฯ
The Museum Now (Untitled) Project
The Museum Now (Untitled), 2014,Collage 21×15 cm./ Mural paint
Invited Artists: Awika Samukrsaman
Participated community : Keawpan family
Sub-curate project by NPKD (NongphoKIDdee)
Venue Baan Noorg : Collage
Community site specific : Mural paint
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture
A museum of relationship : knowing your father more through your mother’s smile, feeling affiliate with a chair when realizing where it used to be, a chat in Nongpo village can bring back Suphanburi’s history from 30 years ago, long distance from home to a street theatre suddenly becomes shorter when the ride is given by your aunty, a cup of ice tea feels more refreshing when you have good company to laugh with, teasing makes storytelling more fulfilled. The interaction here is a memory exchange and develops new relationships. Before you aware of it, the relationships have enhanced to a further step spontaneously.
พิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (Untitled)
พิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ (Untitled), 2014, Collage 21×15 cm./ Mural paint
ศิลปินรับเชิญ: อวิกา สมัครสมาน
ชุมชนร่วม : ครอบครัวแก้วปาน
ภัณฑารักษ์โครงการย่อย โดย หนองโพดิคดี (NPKD)
ห้องแสดงบ้านนอก : Collage
พื้นที่แสดงชุมชน : วาดภาพบนผนัง
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม
พิพิธภัณฑ์ความสัมพันธ์ รู้จักพ่อผ่านรอยยิ้มแม่ สนิทกับเก้าอี้เมื่อรู้ว่าเคยตั้งที่ไหน คุยกันที่หนองโพรู้เรื่องเมื่อ 30 ปีของสุพรรณ จากบ้านไปโรงลิเกใกล้ขึ้นเมื่อน้าไปส่ง ชาเย็นยิ่งอร่อยเมื่อดับกระหายจากเสียงหัวเราะ คำบอกเล่าสมบูรณ์มากขึ้นเมื่อมีคนแซว การปฏิสัมพันธ์ครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความทรงจำและรับคู่สนทนาสู่ความสัมพันธ์ใหม่ เมื่อรู้ตัวอีกทีพิพิธภัณฑ์ความสัมพันธ์เราก็กว้างขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว
Participation Project
Mobile Museum / We Are the Museum Project
Mobile Museum / We Are the Museum, 2014, donated t-shirts, silk screen, colour screen, rubber screen, mobile stationary, dryer, music, sound, megaphone, bucket, crowd live performance
Collaborative artists : Pitchanan Sornyen, Chanya Photjanasattayaweroj, Akkaravin Sumalu, Natthanan Chimphuk, Thanyaporn Phensri, Songpao Bampuang
Participated NPKD : Sopitcha Sripuerk, Suthida Palasu
Participated community :Terapol Rojanasuworapong (120 T-shirts contributor), Palasu family, Sripuerk family, community residents from Baan Noorg Moo 2 toward Nongpo temple
Co-curated: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture and Natthanan Chimphuk
Venue Baan Noorg Commulab : Archive installation
Community site specific /Crowd live performance
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, Suriwatsa Hiranrattanasak
“Fun and entertain loving” is always Thai personality. Forms of entertainment have been changing periodically. Artists start to get interested in economic area of community, where people from inside and outside share their time and gather together to do activities in complicated structure of inter-relational space which is called a public space. The process of creating temporary space has created participation among people through live relative action performance, demonstration on T-shirts silk screen, and hand them to people on the street along the performance route. Likewise cultural producer, participants are regarded as key performances who verbally spread community’s fragment of narratives and phenomenon from one to another. They are narratives that coherent with real situation of community historical recognition. These key performances are the community’s important sources. Each of them carries different stories of each period of time. In the process of creating individual people into a museum, artists have questioned about cultural study system by learning through performers’ point of views, which derive from every of Nongpo community members.
โครงการพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ / เราคือพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ / เราคือพิพิธภัณฑ์, 2014, เสื้อยืดบริจาก, silk screen, สีพิมพ์, ยางปาด, สถานีเคลื่อนที่, เครื่องเป่าผม, วงโยธวาทิตเยาวชน, เสียง, โทรโข่ง, ถังน้ำ, ฝูงชน
ศิลปินร่วม : พิชชานันท์ สอนเย็น, ธันยพร เพ็ญศรี, อัครวินท์ สุมาลุย์, ชัญญา พจนาสัตยาเวโรจน์, ณัฐนันท์ ฉิมพุก, ทรงเผ่า บำเพิง,
NPKD ร่วม : ด.ญ. สุธิดา พละสุ, ด.ญ.โสภิชชา ศรีเผือก
ชุมชนร่วม : ครอบครัว พละสุ, ครอบครัว ศรีเผือก,คุณธีระพล โรจนสุวรพงค์ บริจาก120 T-shirts, ผู้คนระหว่างเส้นทางจากบ้านนอก หมู่ 2 ไปถึงตลาดและวัด
ภัณฑารักษ์ร่วม: บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ ณัฐนันท์ ฉิมพุก
ห้องแสดงบ้านนอกคอมมูแลป: Archive installation
พื้นที่ชุมชน : Crowd live performance
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ สุริวัสสา หิรัญรัตนศักดิ์ รื่นเริงบันเทิง ” เป็นอุปนิสัยของคนไทย ในปัจจุบันสิ่งสร้างความรื่นเริงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลสมัย ศิลปินให้ความสนใจต่อพื้นที่ทางเศรษฐกิจของชุมชน เป็นพื้นที่สาธารณะที่รวมไว้ซึ่งความหลากหลายจากทั้งผู้คนภายในและภายนอกร่วมกิจกรรมกัน ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างของการปฏิสังสรรค์อันสลับซับซ้อน กระบวนการสร้างสรรค์พื้นที่เฉพาะกาล ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของบุคคลผ่านศิลปะแสดงสด ขบวนสาธิตการพิมพ์ผ้าไหม และการแจกจ่ายเสื้อยืดแก่ผู้คนระหว่างเส้นทางจากหมู่ 2 บ้านนอกไปยังวัดหนองโพในด้านหนึ่งบุคคลที่ร่วมเป็นผู้ผลิตทางวัฒนธรรม ถือเป็น key performance ที่จะกระจายเรื่องราวและปรากฏการณ์ของชุมชนแบบ “ปากต่อปาก” ด้วยสารที่ไม่ประติดประต่อ หากแต่เป็นลักษณะอันสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของการรับรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ บุคคลเหล่านั้นคือคลังข้อมูลที่สำคัญของชุมชน แต่ละบุคคลต่างก็มีเรื่องราวที่สามารถบอกเล่าถึงความเป็นไปในยุคสมัยที่พวกเขาดำรงอยู่ โดยศิลปินได้คิดกระบวนการสร้างสรรค์ให้ปัจเจกบุคคลคือพิพิธภัณฑ์ ซึ่งนัยหนึ่งถือเป็นการตั้งคำถามต่อแนวทางการศึกษาด้านวัฒนธรรม โดยทำการศึกษาผ่านมุมมองของผู้กระทำ
Eat Museum / Eat-Ate-Art
Collaborative artists : Niramon Ruangsard, Sita Inyai, Kulchayanuj Chantui, Pataraporn Piyachokanakul, Charinrat Narongrit
Eat Museum / Eat-Ate-Art , 2014, live performance : crowd, Tai yuan traditional cuisine (kang-kee-lek, kang-bon, kang-leang, hua-pee-tod), 9 monks, Buddhist ceremony, sound, one channel color VDO on wall, backdrop blue screen, tie-dye fabrics
Participated NPKD : Siraprapa Chaladthanyakij, Sopitcha Sripuak, Suthida Palasu, Pratchporn Saengchai, Nannapas Noopitak, Maneerat Boonsiri
Participated community : Klong Lumlert, Yupin Wanpen, Supaporn – Twin Meemalai, Suthep Boonprasop, Korn-Aek Paengsuk, Suthida Palasu, Pratchporn Saengchai, Nannapas Noopitak, Chaladthanyakij family, Boonsiri family
Co-curated: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, Kulchayanuj Chantui
Venue Baan Noorg Commulab: live performance
Participated NPKD : Sopitcha Sripuerk, Suthida Palasu
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, Omsiree Pandamrong
Monk blessing ceremony and offering alms to monks is a merit tradition of Buddhism. This ceremony is a platform to interconnect community members within a space and time in order to share good deeds through collaborations. Thai-Yuan people in Nongpo community believe that food offering to monks should be greatly well-prepared. This idea is very beneficial and bears as community’s social cost at the present time. Artists positioned themselves as outsiders who come to explore Tai-Yuan ethnic groups and learn their food culture which they believe is socially and culturally valuable, especially when knowledge is being forgotten by time. Hence, artists have used the primary relational structure of the community to expand cooperative networks in a form of Buddhist traditions and ceremonies.
https://www.youtube.com/watch?v=edvWJmqhi-o
พิพิธภัณฑ์กินได้
พิพิธภัณฑ์กินได้, 2014, ฝูงชน, อาหารพื้นถิ่น (แกงขี้เหล็ก, แกงบอน, แกงเหลือง, หัวปรีทอด), พระสงฆ์ 9 รูป, พิธีกรรมทางพุทธศาสนา, เสียง, วีดีโอ 1 จด สี, ผ้าฉากสีฟ้า, มัดย้อม
ศิลปินร่วม : นิรมล เรืองสอาด, สิตา อินใหญ่, กุญช์ชญาณุจ จันตุ้ย, ภัทรพร ปิยะโชคณากุล, ชรินรัตน์ ณรงค์ฤทธิ์
NPKD ร่วม: ด.ญ.ศิรประภา ฉลาดธัญญกิจ, ด.ญ.สุธิดา พละสุ, ด.ญ.ปรัชภรณ์ แสงชัย, ด.ญ.นันท์นภัส หนูพิทักษ์, ด.ญ.โสภิชชา ศรีเผือก
ชุมชนร่วม : ป้าคลอง ล้ำเลิศ, ป้ายุพิณ วันเพ็ญ, ครูสุภาภรณ์ มีมาลัย, ผอ.สุเทพ บุญประสพ, อาจารย์กรเอก แผงสุข, หมอทวิน มีมาลัย, พระมหาสมคิด อถฺสโธ เจ้าอาวาส และภิกษุวัดหนองโพ, ครอบครัวฉลาดธัญญกิจ, ครอบครัวบุญศิริ
ภัณฑารักษ์ร่วม: บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ กุญช์ชญาณุจ จันตุ้ย
ห้องแสดงบ้านนอกคอมมูแลป : ศิลปะแสดงสด
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ ออมสิรี ปานดำรงค์
พิธีกรรม ‘เลี้ยงพระ’ เป็นการทำบุญเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เป็นการสร้างพื้นที่เชื่อมโยงสมาชิกในชุมชนเข้ากับพื้นที่และเวลา โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการแบ่งปันสิ่งดีงามที่ได้จากความร่วมแรงร่วมใจ เฉกเช่นเดียวกับวิถีของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ชาวไทยวนในชุมชนหนองโพเชื่อกันว่าภัตตาหารที่จัดเตรียมถวายแด่พระสงฆ์จำเป็นต้องจัดทำอย่างดีที่สุด แนวคิดดังกล่าวก่อให้เกิดคุณประโยชน์ รวมทั้งเป็นต้นทุนทางสังคมของชุมชนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในยุคสมัยปัจจุบัน ศิลปินได้วางตำแหน่งของพวกเขาเองไว้ในฐานะคนนอกที่เข้ามาลงพื้นที่เพื่อศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อเรียนรู้วิธีการทำอาหารตำหรับพื้นถิ่นของชาวไทยวน ด้วยเล็งเห็นว่าอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์นี้มีคุณค่าในเชิงสังคมและวัฒนธรรม และเป็นชุดความรู้ของชุมชนที่กำลังถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา กลุ่มศิลปินอาศัยโครงสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนที่มีดั้งเดิมมาเป็นกลวิธีการขยายเครือข่ายความร่วมมือของผู้คนในชุมชนในรูปแบบของประเพณีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
The Museum of Simplicity / As Museum As Grocery Store Project
The Museum of Simplicity / As Museum As Grocery Store , 2014, Emboss print on paper, frame, rubber stamp, color pad, Take-it sticker, QR code, FB homepage
Collaborative artists : Omsiree Pandamrong, Supichaya Khunchamni, Nattawika Boon-ard, Chanida kuntiranont, Kornchanok Savangsri
Participated NPKD : Sopitcha Sripuerk, Suthida Palasu
Participated community :Samran Wanpen, Lumduan Chaopong, Kajeerat Na-nakorn, Sai Fon grocery store (Wanida Khananukul), Suthep Boonprasop, Korn-Aek Paengsuk, Singharuang family, Saengchai family
Co-curated: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, Supichaya Khunchamni
Venue Baan Noorg Commulab: Emboss print on frame
Community site specific :Nampanit grocery store, PA-JOK grocery store, Sai Fon grocery store, Loong Duan grocery store : Emboss print on paper, frame, rubber stamp, color pad, sticker, QR code, FB homepage
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture and Pitchanan Sornyen
It’s been a long time since family-run grocery stores in Nongpo community are still attractive for its people’s simple lifestyle. It is a beautiful way of life that is rare to find in the city. Handing out a “certificate” event to honour these stores’ value, whose function as the community museum, is to some extent an addressing pride to the shop owners and local members to encourage them to perceive the value of what they have and who they are. In the case study of old family-run grocery stores in the community and the impact from capitalism overwhelming and the bargaining power within the free market capitalist society, the change of the causes and context have affected artists to design processes that help facilitate customer participation system in conserving the history and culture in their community.“As Museum As Grocery Store” compares the aesthetic value with the simplicity and regularity of daily life to respond the change while daily life in the store is processing.
โครงการพิพิธภัณฑ์สามัญ / เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นโชห่วย
พิพิธภัณฑ์สามัญ / เป็นพิพิธภัณฑ์เป็นโชห่วย, 2014, ภาพพิมพ์นูนบนกระดาษ, กรอบ, ตรายาง, สีตลับ, สติกเกอร์, QR code, FB homepage
ศิลปินร่วม : ออมสิรี ปานดำรงค์, สุพิชญา ขุนชำนิ, ณัฐวิกา บุญอาจ, ชานิดา คุณติรานนท์, กรชนก สว่างศรี
NPKD ร่วม ด.ญ. จิรัฐิพร ก่ายโนนสูง, ด.ช. จารุพัฒน์ ก่ายโนนสูง, ด.ญ. นันท์นภัส หนูพิทักษ์
ชุมชนร่วม : สำราญ วันเพ็ญ, ลำดวน เชาวน์พงศ์, ครูขจีรัตน์ ณ นคร, ร้านสายฝน (คุณวณิดา คณานุกูล), ผอ.สุเทพ บุญประสพ, อาจารย์กรเอก แผงสุข, ครอบครัวแสงชัย, ครอบครัวสิงห์เรือง
และชาวไทยวนในชุมชนฯ
ภัณฑารักษ์ร่วม: บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ สุพิชญา ขุนชำนิ
ห้องแสดงบ้านนอกคอมมูแลป: ภาพพิมพ์นูน
พื้นที่ชุมชน : ร้านนำพานิช, ร้านป้าจอก, ร้านสายฝน, ร้านลุงดวน
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ พิชชานันท์ สอนเย็น
ร้านโชห่วย’ หรือ ‘ร้านขายของชำ’ ในย่านชุมชนหนองโพ คงเสน่ห์ความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมาแต่อดีต เป็นความงามในวิถีชีวิตที่หาได้ยากเต็มทีในสังคมเมือง ‘พิธีมอบเกียรติบัตร’ เพื่อยกย่องคุณค่าแก่ร้านค้าซึ่งทำหน้าที่เสมือนพิพิธภัณฑ์ชุมชน เป็นการมอบความภาคภูมิใจให้ทั้งเจ้าของร้านและผู้คนในชุมชน เพื่อให้พวกเขาได้ตระหนักถึงคุณค่าในสิ่งที่พวกเขามีอยู่และเป็นอยู่ ศิลปินหยิบยกประเด็นเทียบเคียงวิถีชีวิตและความเป็นเช่นนั้นเอง เพื่อสนองตอบความงามที่เรียบง่ายของชีวิตประจำวัน ในกรณีศึกษาร้านโชห่วยเก่าแก่ของชุมชนกับการเคลื่อนไหวและอำนาจต่อรองในสังคมทุนนิยมเสรี การเปลี่ยนแปลงของเหตุปัจจัยและบริบทแวดล้อม ส่งผลให้ศิลปินประดิษฐ์สร้างกระบวนการซึ่งทำให้ลูกค้าของร้านโชห่วย จากเดิมมามีส่วนร่วมในการร่วมรักษาไว้ ซึ่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน
The Museum of Voiceover / where we were Project
The Museum of Voiceover / where we were, 2014, document sheets, Community site specific, Community bus stations, Community public theatre, Community radio broadcasting, Media players, speakers, mp3
Collaborative artists :Tidarat Chumjunrad, Suriwatsa Hiranrattanasak, Nawaporn Nontapunthawat, Satjawalee Sukapan, Julaluck Pathpran
Participated NPKD : Pongsakorn Pimpongpaisan, Kesanee Konmek, Natthanan Tonthong
Participated community : Noogim Srisamut, Yoopha Sringam, Jitra Jaratsopin, Suthep Boonprasop, Pimpongpaisan family, Kesanee Konmek family, Tonthong family , Tai Yuan Ethnic people in community
Co-curated: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, Nawaporn Nontapunthawat
Venue Baan Noorg Commulab: document sheets
Community site specific, Community bus stations, Community public theatre, Community radio broadcasting,
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture and Sareena Satthapon
Ethnic diversity has made Nongpo community a multicultural village. Voices of ethnic people reveal the past and the value of the intermingling culture. Moreover, it recalls and shares both locals and visitors the memories they have in common. Artists emphasize cultural evolution of the community by studying and collaborating with community ethnic elder representatives. Immigrations in each period of time have caused acculturation and greater respect in community development. Today, narratives and memories from former times from living diary are gradually faded away with time.
Link to sound installation work:
Community bus stations
https://soundcloud.com/jiandyin/dxhhxfhcv8iz
Community public theatre
https://soundcloud.com/jiandyin/mixdown
Community radio broadcasting
https://soundcloud.com/jiandyin/sets/tai-yuan-1-word-1-day-july-2014_off-lab-1?fbclid=IwAR3LlOuY9o6GB5m_Qdm3i0On_KEaSAR7DS4w3FntMTGkqnOqNZmoIMDJEeQ
โครงการพิพิธภัณฑ์เสียง/ตรงนี้ที่เคยเป็น
พิพิธภัณฑ์เสียง / ตรงนี้ที่เคยเป็น, 2014, Media players, speakers, mp3
ศิลปินร่วม : ธิดารัตน์ ชุ่มจังหรีด, สุริวัสสา หิรัญรัตนศักดิ์, นวพร นนทพันธาวาทย์, สัจวลี สุขพันธ์, จุฬาลักษณ์ แพทย์เพียร
NPKD ร่วม: ด.ญ.เกศนี คอนเมฆ, ด.ช. ณัฐนันท์ ตันทอง, ด.ช.พงศกร พิมพงศ์ไพศาล
ชุมชนร่วม : หนูกิม ศรีสมุทร, ยุพา ศรีงาม, จิตตรา จรัสโสภิณ, ผอ.สุเทพ บุญประสพ, ครอบครัวพิมพงศ์ไพศาล, ครอบครัวคอนเมฆ, ครอบครับตันทอง, ชาวไทยวนในชุมชนฯ
ภัณฑารักษ์ร่วม: บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ นวพร นนทพันธาวาทย์
ห้องแสดงบ้านนอกคอมมูแลป: document sheets
พื้นที่ชุมชน : ป้ายรถประจำทางชุมชน, โรงลิเกชุมชน, วิทยุชุมชน
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ สรีนา สัตถผล
ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ก่อให้เกิดความหลากหลายของวัฒนธรรมในชุมชนหนองโพ เสียงของชาติพันธุ์บอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีต เผยให้เห็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมอันดี ซึ่งทำให้ทั้งคนในและคนนอกชุมชนสามารถระลึกได้ถึงความทรงจำที่มีร่วมกัน ศิลปินให้ความสนใจต่อวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชน ผ่านกระบวนการศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานร่วมกับตัวแทนผู้อาวุโสของกลุ่มชาติพันธุ์ในชุมชน การโยกย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากของผู้คนในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดการผสมผสานและความเจริญก้าวหน้าทางวัฒนธรรมจากอดีตส่งผลมาสู่พัฒนาการชุมชนในปัจจุบัน ในวันนี้เรื่องเล่าและความทรงจำในอดีตจากบันทึกที่มีชีวิตมีเลือดเนื้อกำลังล้มหายตายจากไปทีละชีวิตตามกาลเวลา
The Museum of photo / on the way
The Museum of photo / on the way, 2014, 3 inkjet Banners, wooden frame, Let community talk
Collaborative artists : Sareena Satthapon, Channarong Kongkaew, Ravisara Thangjitrat, Verapatra Moonwat, Vanrada Pimsotsai
Participated NPKD : Patcharida Singharuang, Pratchporn Saengchai
Participated community :Samran Wanpen, Lumduan Chaopong, Kajeerat Na-nakorn, Sai Fon grocery store (Wanida Khananukul), Suthep Boonprasop, Korn-Aek Paengsuk, Singharuang family, Saengchai family
Co-curated: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture, Natthanan Chimphuk
Venue Baan Noorg : Achieve photo, Let community talk
Community site specific : inkjet Banners, wooden frame
Curatorial statement: Baan Noorg Collaborative Arts and Culture and Niramon Ruangsard
Time never stops. The only thing that can freeze time is a “photograph”. Just like a proverb “a photograph is worth a million words”, watching a photograph reminds us of the past, our present being, and the unarrived future, as if time travels parallelly through memories. Artists have reproduced community’s memories throughout the community members themselves by integrating history through conversations piece by piece, recollections them from old personal photographs and transcribe them from personal/social impressions, personal time, place, stories, etc. In many cases, personal photographs become another page of community’s social diary.
โครงการพิพิธภัณฑ์ภาพถ่าย/ระหว่างทาง
พิพิธภัณฑ์ภาพถ่าย/ระหว่างทาง, 2014, 3 ภาพอิงเจท, โครงไม้, กิจกรรมพูดคุยชุมชน
ศิลปินร่วม : สรีนา สัตถาผล, ชาญณรงค์ แคล่วคล่อง, รวิสรา ตั้งจิตรัตน์, วีระภัทร มูลวัน, วรรณรดา พิมพ์สดใส
NPKD ร่วม ด.ญ.พัชริดา สิงห์เรือง, ด.ญ.ปรัชภรณ์ แสงชัย
ชุมชนร่วม : สำราญ วันเพ็ญ, ลำดวน เชาวน์พงศ์, ครูขจีรัตน์ ณ นคร, ร้านสายฝน (คุณวณิดา คณานุกูล), ผอ.สุเทพ บุญประสพ, อาจารย์กรเอก แผงสุข, ครอบครัวแสงชัย, ครอบครัวสิงห์เรือง
และชาวไทยวนในชุมชนฯ
ภัณฑารักษ์ร่วม: บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ สรีนา สัตถาผล
ห้องแสดงบ้านนอก : บันทึกภาพถ่าย, กิจกรรมพูดคุยชุมชน
พื้นที่ชุมชน : ภาพอิงเจท, โครงไม้
Curatorial statement : บ้านนอกความร่วมมือทางศิลปวัฒนธรรม และ นิรมล เรืองสอาด
เวลาเป็นสิ่งไม่เคยหยุดนิ่ง สิ่งเดียวที่สามารถหยุดช่วงเวลา ณ ขณะนั้นไว้ได้ก็คือ “ภาพถ่าย” ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพเพียงหนึ่งภาพสามารถแทนคำพูดได้นับล้านคำ” เพราะขณะที่มองดูภาพถ่าย สามารถทำให้เราหวนรำลึกถึงเรื่องราวในอดีต ตัวตนในปัจจุบัน รวมไปถึงอนาคตที่ยังเดินทางมาไม่ถึง เสมือนว่าเวลาได้เดินทางผ่านความทรงจำเป็นเส้นขนาน ศิลปินได้ผลิตซ้ำความทรงจำของชุมชนด้วยตัวบุคคลในชุมชนเอง ด้วยการสร้างบทสนทนาจากประวัติศาสตร์ตามคำบอกเล่า ภาพถ่ายในอดีตถูกหยิบจับมาถอดบันทึกรหัสเรื่องราวแห่งความประทับใจของผู้คนและสังคม กาลเวลาของบุคคล สถานที่ คำบอกเล่า ค่านิยม ฯลฯ ในหลายกรณีภาพถ่ายส่วนบุคคลได้กลายมาเป็นบันทึกอีกหน้าหนึ่งของชุมชนส่วนรวม